วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

หน่วยที่ 5 เครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web)


เครือข่ายใยแมงมุม
     ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถเชื่อมต่อกันได้ทั่วโลก และการใช้งานบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน เป็นการใช้งานที่ทำได้ง่าย สะดวก และมีการให้บริการที่หลากหลายรูปแบบทำให้ทุกคนสามารถใช้งานบนอินเทอร์เน็ตได้ด้วยตนเอง และในระบบงานราชการของไทยในยุคปัจจุบันก็จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงาน เพื่อทำให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ถึงกันได้ และช่วยลดปริมาณกระดาษในการนำส่งเอกสารระหว่างหน่วยงานได้อีกด้วย
     การบริการอย่างหนึ่งซึ่งมีความสำคัญในการสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถเชื่อมโยงเอกสารในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่ทั่วโลก ทำให้มองดูเสมือนกับแมงมุมที่กระจายเส้นใยครอบคลุมไปในทิศทางต่างๆ ทั่วโลก จงทำให้ระบบนี้ถูกเรียกว่า "เครือข่ายใยแมงมุม" (World Wide Web) หรือ www หรือ Web นั้นเอง
     การเผยแพร่ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตผ่านสื่อประเภทเว็บเพจเป็นที่นิยมอย่างสูงในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นการโฆษาสินค้า การศึกษาข้อมูล ความรู้ต่างๆ การเผยแพร่ข้อมูลทางการแพทย์ การเรียนผ่านทางอินเทอร์เน็ต การซื้อ-ขายสินค้า ตลอดจนความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ เช่น การดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม การเผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบนี้จะสามารถเข้าถึงกลุ่มของผู้ที่สนใจได้ทั่วโลกตลอดจนการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารก็ทำได้ทั้งรูปแบบข้อมูลตัวอักษร ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง และภาพเคลื่อนไหวต่างๆ จึงทำให้ระบเวิลด์ ไวด์ เว็บ ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

หมายเลขประจำเครื่อง (IP Address)

     การส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่มีการเชื่อมต่อกันในระบบเครือข่านอินเทอร์เน็ตซึ่งอยู่ภายใต้มาตรฐาน TCP/IP เครื่องคอมพวเตอร์จะต้องมีหมายเลขประจำตัว เพื่อจะได้สามารถอ้างอิงหมายเลขในการเรียกใช้งาน และหมายเลขประจำตัวนี้จะต้องไม่ซ้ำกันเช่นเดียวกับหมายเลขประจำตัวประชาชนของแต่ละบุคคล ซึ่งหมายเลขที่ใช้อ้างอิงจะใช้เป็นตัวเลขที่เรียกว่า (IP Address)
     IP Address คือ หมายเลขประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การกำหนดหมายเลข IP Address ประกอบด้วยเลขฐานจำนวน 4 ชุดๆละ 8 บิต จะรวมเป็นค่าตัวเลข 32 บิต ค่าของตัวเลขแต่ละส่วนมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 255

โดเมนเนม (Domain Name)

      คือ ชื่อเว็บไซต์ (www.yourdomain.com) ที่ท่านสามารถเป็นเจ้าของ ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกับคนอื่น เพื่อการเรียกหาเว็บไซต์ที่ต้องการ ชื่อเว็บไซต์” คือ สิ่งแรกที่แสดง หรือ ประกาศความมีตัวตนบนอินเตอร์เน็ตให้คนทั่วไปได้รู้จัก สามารถมีได้ชื่อเดียวในโลกเท่านั้น เช่นwww.gict.co.th เมื่อผู้ใช้กรอกชื่อลงไปในช่อง Address ของ Internet Explorer ก็จะส่งชื่อไปร้องถามจากเครื่องแปลชื่อ โดเมน (Domain Name Server) และได้รับกลับมาเป็นไอพีแอดเดรส (Internet Protocol) แล้วส่งคำร้องไปให้กับเครื่องปลายทางตามไอพีแอดเดรส และได้ข้อมูลกลับมาตามรูปแบบที่ร้องขอไป
      
Sub Domain  ซับโดเมน ) 
       Sub Domain ( ซับโดเมน ) คือ เว็บย่อยของเว็บไซต์ของเราอีกที โดยปกติถ้ามี Domain(โดเมนชื่อ www.gict.co.th เราจะเข้าชมเว็บไซต์ของเราโดยพิมพ์ www.gict.co.th แต่หากเราต้องเข้าชมเว็บย่อยของเราจะต้องพิมพ์ http://domain.gict.co.th มีประโยชน์สำหรับท่านที่มีธุรกิจหลายประเภท เป็นการจำแนกแยกแยะหมวดหมู่ธุรกิจ

   ข้อควรรู้ก่อนจดโดเมน
     1.ความยาวของชื่อ Domain ตั้งได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
     2.Domain ต้องจดในชื่อของคุณเท่านั้น Domain Ownership
     3.ถ้าเป็น Domain ของบริษัท พยายามจดภายใต้ชื่อบริษัท อย่าจดด้วยชื่อพนักงาน IT
     4.ข้อมูลที่สำคัญที่สุดของ Domain คือ Owner Detail
     5.ใช้อีเมล์ที่จะอยู่กับคุณตลอดไปในการจดโดเมน ซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่ใช้ติดต่อกับคุณ เรียกว่า Registrant E-mail
     6.บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ Domain ของคุณไว้ให้ดี วันหมดอายุ ผู้ติดต่อ และอื่น ๆ

ลักษณะของ Domain Name
    โดเมนเนมในโลกนี้จะไม่มีการซ้ำกันเลยครับ โดเมนเนมแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้ครับ
      1. โดเมนเนม 2 ระดับ จะมีรูปแบบ เช่น amazon.com , makmay.com ฯลฯ โดยคำย่อส่วนที่ 2 คือ คำย่อของประเภทองค์กร ดังนี้ครับ
          .com บริษัท หรือองค์กรพาณิชย์
          .edu สถาบันการศึกษา
          .gov องค์กรรัฐบาล
          .mil องค์กรทางทหาร
          .net องค์กรที่ทำหน้าที่เป็นเกตเวย์ หรือจุดเชื่อมต่อเครือข่าย
          .org องค์กรที่ไม่เข้าข่ายประเภทองค์กรทั้งหมดที่ได้กล่าวถึง
    2. โดเมนเนม 3 ระดับ จะมีรูปแบบ เช่น ksc.co.th ฯลฯ โดยคำย่อส่วนที่ 2 คือ คำย่อของประเภทองค์กร ดังนี้ครับ
         .co บริษัท หรือองค์กรพาณิชย์
         .ac สถาบันการศึกษา
         .go องค์กรรัฐบาล
         .or องค์กรไม่แสวงผลกำไร
         .net องค์กรที่ให้บริการเครือข่าย
  สำหรับคำย่อในส่วนที่ 3 หลังเครื่องหมายจุดใช้ระบุประเทศที่ตั้งขององค์กรนั้น เช่น
       .cn จีน
       .th ไทย
       .jp ญี่ปุ่น
       .au ออสเตรเลีย

วิธีการจดทะเบียน Domain Name
     วิธีการจดทะเบียนโดเมนเนม (Domain Name) นั้นสามารถกระทำผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือสามารถขอจดทะเบียนผ่านทางบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตได้ โดยถ้าต้องการจดโดเมนเนมแบบ Geographical Domains ก็จะสามารถจดทะเบียนผ่านทาง www.thnic.net แต่ถ้าต้องการจดทะเบียนเป็นแบบ Organization Domains ก็สามารถเลือกจดทะเบียนได้ตามเว็บไซต์ที่เป็นตัวอย่าง เช่น www.netdesignhost.com
     แสดงตัวอย่าง ขั้นตอนในการจดทะเบียนโดเมนเนมแบบ Organization Domains มีดังต่อไปนี้
1.พิมพ์ www. www.netdesignhost.com
          2.เลือกเมนู Domain Name
          3.พิมพ์ชื่อโดเมนเนมที่ต้องการ เพื่อตรวจสอบว่าชื่อนี้มีการจดทะเบียนหรือยัง ถ้ามีการจดทะเบียนไปแล้ว เราจะต้องใช้ชื่อใหม่เพราะไม่สามารถที่จะจดทะเบียนด้วยชื่อที่ซ้ำกันได้
          4. ถ้าชื่อโดเมนเนมที่เราได้ขอตรวจสอบไปนั้นยังไม่มีผู้ใดใช้อยู่จะแสดงชื่อ เพื่อให้เลือกประเภทขององค์กรที่ต้องการ เช่น kulrapee.com, kulrapee.org, kulrapee.net
          5. ให้กำหนด Username และ Password ที่ต้องการใช้ในการจดทะเบียนโดเมนเนม
          6. กรอกข้อมูลการลงทะเบียน
          7. แสดงข้อมูลการลงทะเบียนมาให้ตรวจสอบอีกครั้ง
          8. แสดงรายละเอียดการชำระเงินค่าจดทะเบียนโดเมนเนม เมื่อชำระเรียนร้อยแล้วก็จะมีโดเมนเนมตามที่ได้ขอจดทะเบียนไว้
รหัสสืบค้นแหล่งข้อมูล   

           การท่องเที่ยวในระบบอินเตอร์เน็ตนั้น จะมีเมนูหรือตำแหน่งของการเชื่อมโยง (Link) ไปยังเว็บไซต์ต่างๆ ได้อีกมากมาย ซึ่งอาจเป็นเว็บไซต์ที่เป็นส่วนย่อยของเว็บไซต์นี้ หรือเป็นเว็บไซต์ที่ถูกจัดเก็บไว้ในกลุ่มข้อมูลต่างๆ เมื่อคลิกเข้าไปแล้วบางครั้งเสมือนกับเราได้เปิดประตูเข้าไปข้างในทีละชั้นจนพบกับข้อมูลที่เราต้องการ

การเชื่อมโยงข้อมูล (Link) 
           เว็บเพจแต่ละหน้าใน word wide wed จะสามารถเชื่อมโยงกันได้ ทำให้เราสามารถที่จะเรียกดูเว็บเพจอี่นได้จากการคลิกเมาส์เพื่อกระโดดไปยังข้อมูลที่ต้องการได้ เราสามารถสร้างเชื่อมโยงผ่านทางข้อความ รูปภาพ หรือปุ่มเมนู
     การเชื่อมโยงข้อมูล (Link) สามารถเชื่อมโยงได้ ดังนี้
         1.การเชื่อมโยงข้อมูลภายในหน้าเว็บเพจเดียวกัน
            2.การเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเว็บเพจหน้าอื่นๆ ซึ่งอยู่ภายในเว็บไซต์เดียวกัน
            3.การเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเว็บไซต์อื่นๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น