วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

หน่วยที่ 10 กฏหมายและความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต


กฏหมายและความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต

          ในโลกยุคปัจจุบัน คือ สังคมของสารสนเทศซึ่งสามารถสื่อสารข้อมูลข่าวสารได้อย่างอิสระโดยมีระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางในการสื่อสารที่สามารถสื่อสารข้อมูลข่าวสารกันได้ทุกที่ เหมือนกับเส้นใยแมงมุมที่สามารถกระจายไปได้ทุกทิศทางทั่วโลก ทำให้ช่องทางในการสื่อสารมีหลากหลายรูปแบบ เมื่อมีจำนวนผู้ใช้ช่องทางการสื่อสารในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น จึงจำเป็นที่ต้องมีกฏหมายเข้ารองรับการใช้งาน
          ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีมีการพัฒนาแบบไม่หยุดยั้ง และต่อมานอกจากการพัฒนาระบบและอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ หรือการสื่อสารของระบบเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ตแล้ว ยังสามารถดำเนินการด้านธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นช่องทางการค้าในรูปแบบใหม่ของระบบการสื่อสารแบบไร้พรมแดน ทำให้สามารถซื้อขายสินค้ากันได้อย่างกว้างขวาง และไม่จำเป็นที่จะต้องหาทำเลในการตั้งกิจการก็สามารถทำธุรกิจบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
          ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีกฏหมายมารองรับในการดำเนินงานด้านธุรกรรมต่างๆ เพื่อความถูกต้อง และสร้างความเชื่อถือในการดำเนินงาน หรือการสื่อสารบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

กฏหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
           ถึงแม้ว่าในปัจจุบันบางประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีกฎหมายควบคุมสื่ออินเทอร์เน็ต ก็ยังไม่สามารถควบคุมภัยล่อลวงต่าง ๆ จากสื่ออินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างเด็ดขาดเต็มที่โดยเฉพาะควบคุมดูแลการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารบนสื่ออินเทอร์เน็ตนั้นก็ยังเป็นปัญหา โดยเฉพาะการเผยแพร่สื่อสารลามกหรือบ่อนการพนัน
            ซึ่งปัญหาดังกล่าว นอกจากจะเกี่ยวข้องกับสิทธิส่วนบุคคลในการเข้าถึงข้อมูล การก้าวก่ายสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งเป็ยสิทธิพื้นฐานของประชาชน ยังอาจจะขัดต่อกฏหมายรัฐธรรมนูญของประเทศอีกด้วย อีกทั้งลักษณะพิเศษของข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายที่ลักษณะเป็นใยแมงมุม ซึ่งระบบกระจายความรับผิดชอบไม่มีศูนย์กลางของระบบ และเป็นเครื่อข่ายข้อมูลระดับโลกยากต่อกรควบคุม และเป็นสื่อที่ไม่มีตัวตน หรือแหล่งที่มาที่ชัดเจนทั้งผู้ส่งข้อมูล หรือผู้รับข้อมูล
          ดังนั้นกฏหมายที่จะมากำกับดูแล หรือควบคุมสื่ออินเทอร์เน็ต จะต้องเป็นกฏหมายลักษณะพิเศษเป็นที่ยอมรับในระดับสากล แต่ความแตกต่างในระดับการเมือง สังคม และวัฒนธรรม ในแต่ละประเทศยังเป็นปัญหาอุปสรรค ในการร่างกฏหมายดังกล่าวซึ่งปัจจุบันยังไม่ปรากฏผลเป็นกฏหมายยังคงอยู่ในระยะที่กำลังสร้างกฏเกณฑ์กติกาขึ้นมากำกับบริการอินเทอร์เน็ต
        
ประเทศไทยกับการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ   กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทยเริ่มวันที่ 15 ธันวาคม 2541 โดยคณะ กรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติเรียก (กทสช) ได้ทำการศึกษาและยกร่างกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับ ได้แก่
                
1. กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transactions Law) 
                        เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอด้วยกระดาษ อันเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่าง ๆ ซึ่งแต่เดิมอาจจะจัดทำขึ้นในรูปแบบของหนังสือให้เท่าเทียมกับนิติสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่จัดทำขึ้นให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมตลอดทั้งการลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และการรับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
 
                2. 
กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signatures Law)
                        
เพื่อรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยกระบวนการใด ๆ ทางเทคโนโลยีให้เสมอด้วยการลงลายมือชื่อธรรมดา อันส่งผลต่อความเชื่อมั่นมากขึ้นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และกำหนดให้มีการกำกับดูแลการให้บริการ เกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนการให้ บริการอื่น ที่เกี่ยวข้องกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

                3. กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน(National Information Infrastructure Law)
เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ อันได้แก่ โครงข่ายโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำคัญอื่น ๆ อันเป็นปัจจัยพื้นฐาน สำคัญในการพัฒนาสังคม และชุมชนโดยอาศัยกลไกของรัฐ ซึ่งรองรับเจตนารมณ์สำคัญประการหนึ่งของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 ในการกระจายสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน และนับเป็นกลไกสำคัญในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำของสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีศักยภาพในการปกครองตนเองพัฒนาเศรษฐกิจภายในชุมชน และนำไปสู่สังคมแห่งปัญญา และการเรียนรู้              
  4. กฏหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law)  เพื่อก่อให้เกิดการรับรองสิทธิและให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งอาจถูกประมวลผล เปิดเผยหรือเผยแพร่ถึงบุคคลจำนวนมากได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี จนอาจก่อให้เกิดการนำข้อมูลนั้นไปใช้ในทางมิชอบอันเป็นการละเมิดต่อเจ้าของข้อมูล ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการรักษาดุลยภาพระหว่างสิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร และความมั่นคงของรัฐ               
 5. กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law)  เพื่อกำหนดมาตรการทางอาญาในการลงโทษผู้กระทำผิดต่อระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ระบบข้อมูล และระบบเครือข่าย  ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองการอยู่ร่วมกันของสังคม
 6. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ 
(Electronic Funds Transfer Law) เพื่อกำหนดกลไกสำคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่เป็นการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงิน และระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ในรูปของเงินอิเล็กทรอนิกส์ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบการทำธุรกรรมทางการเงิน และการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น 

  

มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

          มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ได้จัดแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังต่อไปนี้

มาตรการด้านเทคโนโลยี         
          เป็นการต่อต้านอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์โดยผู้ใช้สามารถใช้หรือติดตั้งเทคโนโลยีต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ การติดตั้ง
ระบบการตรวจจับการบุกรุก (Intrusion Detection) หรือการติดตั้งกำแพงไฟ (Firewall) เพื่อป้องกันหรือรักษาคอมพิวเตอร์
ของตนให้มีความ ปลอดภัย ซึ่งนอกเหนือจากการติดตั้งเทคโนโลยีแล้วการตรวจสอบเพื่อประเมินความเสี่ยง อาทิ การจัดให้มีระบบ
วิเคราะห์ความเสี่ยงและการให้การรับรอง (Analysis Risk and Security Certification) รวมทั้งวินัยของ ผู้ปฏิบัติงาน
ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอ มิเช่นนั้นการติดตั้งเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพเพื่อใช้ในการป้องกัน
ปัญหาดังกล่าวก็ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แต่อย่างใด


มาตรการด้านกฏหมาย
        มาตรการด้านกฎหมายเป็นนโยบายของรัฐบาลไทยประการหนึ่งที่นำมาใช้ในการต่อต้านอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ โดยการ
บัญญัติหรือตรากฎหมายเพื่อกำหนดว่าการกระทำใดบ้างที่มีโทษทางอาญา ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ
ดังนี้

        1. กฏหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ   กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ หรือร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. …. ซึ่งขณะนี้เป็นกฎหมายหนึ่งในหกฉบับที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยมีสาระสำคัญของกฎหมายแบ่งออกได้เป็น ส่วนหลัก คือ
               1.1  การกำหนดฐานความผิดและบทลงโทษเกี่ยวกับการกระทำที่เป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เช่น ความผิดเกี่ยวกับการ
เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่มีอำนาจ (Illegal Access) ความผิดฐานลักลอบดักข้อมูลคอมพิวเตอร์
(Illegal Interception) 
หรือ ความผิดฐานรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ(Interference
computer data and computer system) 
ความผิดฐานใช้อุปกรณ์ในทางมิชอบ (Misuse of Devices)เป็นต้น

               1.2 การให้อำนาจพิเศษแก่เจ้าพนักงานในการปราบปรามการกระทำความผิด นอกเหนือเพิ่มเติมไปจากอำนาจโดยทั่วไป
ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายอื่นๆ อาทิ การให้อำนาจในการสั่งให้ถอดรหัสข้อมูลคอมพิวเตอร์ อำนาจในการเรียกดูข้อมูลจราจร (traffic
data) หรือ อำนาจค้นโดยไม่ต้องมีหมายในบางกรณี

          2. กฏหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง นอกเหนือจากกฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ดังที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้นแล้ว ปัจจุบันมีกฎหมายอีกหลายฉบับทั้งที่ตราขึ้นใช้บังคับแล้ว และที่อยู่ระหว่างกระบวนการตรานิติบัญญัติ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการป้องกันหรือปราบปรามอาชญากรรม
ทางคอมพิวเตอร์ เช่น

               2.1 พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 มาตรา 74 ซึ่งกำหนดฐานความผิดเกี่ยวกับการดักรับไว้ หรือใช้ประโยชน์ หรือเปิดเผยข้อความข่าวสาร หรือข้อมูลอื่นใดที่มีการสื่อสารโทรคมนาคมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
                 2.2 กฎหมายอื่นที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ ได้แก่  ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา โดยเป็นการกำหนดฐานความผิดเกี่ยวกับการปลอมหรือแปลงบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนกำหนดฐานความผิดเกี่ยวกับการใช้ มีไว้เพื่อใช้ นำเข้า หรือส่งออก การจำหน่ายซึ่งบัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอมหรือแปลง และลงโทษบุคคลที่ทำการผลิต หรือมีเครื่องมือในการผลิต


มาตรการด้านความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน
       นอกเหนือจากมาตรการทางเทคโนโลยีที่ผู้ใช้ต้องดำเนินการ หรือมาตรการทางกฎหมายที่รัฐบาลต้องผลักดันกฎหมายต่างๆ แล้ว
มาตรการสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะช่วยให้การป้องกันปราบปรามอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์สัมฤทธิ์ในทางปฏิบัติได้นั้น คือ
มาตรการด้านความร่วมมือกับระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชนซึ่งมิได้จำกัดเพียงเฉพาะหน่วยงานที่มี
หน้าที่ตามกฎหมายเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงหน่วยงานอื่นๆ ที่อาจเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นในด้านของผู้พัฒนาระบบ
หรือผู้กำหนดนโยบายก็ตาม
        นอกเหนือจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ แล้วสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือความจำเป็นที่จะต้องมีหน่วยงานด้า
นความปลอดภัยของเครือข่ายเพื่อรับมือ กับปัญหาฉุกเฉินด้านความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ขึ้นโดยเฉพาะ และเป็นศูนย์กลางคอยให้
ค วามช่วยเหลือในด้านต่างๆ รวมทั้งให้คำปรึกษาถึงวิธีการหรือแนวทางแก้ไข ซึ่งปัจจุบันศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และ
คอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานการรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (Thai Computer
Emergency Response Team / ThaiCERT) เพื่อเป็นหน่วยงานให้ความช่วยเหลือและให้ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับการ ตรวจสอบและการรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์แก่ผู้ที่สนใจทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งเป็นหน่วยงานรับแจ้งเหตุกรณีที่มีการ
ละเมิดความปลอดภัยคอมพิวเตอร์เกิดขึ้น
 


มาตรการทางสังคม
          ในปัจจุบันสังคมไทยกำลังเผชิญกับปัญหาการใช้อินเทอร์เน็ตไปในทางไม่ชอบหรือฝ่าผืนต่อบทบัญญัติของกฏหมาย ทั้งโดยการเผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นสื่อสามกอนาจาร ข้อความหมิ่นประมาท การชักจูงล่อล่วง หลอกลวงเด็กและเยาวชนไปในทางที่เสียหาย หรือพฤติกรรมอื่นอันเป็นภัยต่อสังคม โดยคาดการณ์ว่าการกระทำ หรือพฤติกรรมดังกล่าวจะมีปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้นตามสัดส่วนการใช้งานของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต อันส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนของชาติ ดังนั้น หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจึงได้เร่งรณรงค์ในการป้องกันปัญหาดังกล่าวร่วมกันเพื่อดูแลและปกป้องเด็กและเยาวชนจากผลกระทบดังกล่าว 

ภัยร้ายบนอินเทอร์เน็ต
          ภัยร้ายบนอินเทอร์เน็ตที่จัดอยู่ในรูปแบบของการล่อล่วง โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย

โปรแกรมรหัสลับ ( Encryption Software)
          โปรแกรมนี้จะล็อกแฟ้มข้อมูลหรือข้อความไว้ เพื่อให้เปิดได้เฉพาะในหมู่ผู้ใช้ที่มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชนิดเดียวกัน หรือมี "รหัสผ่าน" หรือ "Password" ที่ใช้เปิดแฟ้มนี้ อาจเป็นชุดตัวเลขที่ตั้งขึ้นมาแบบสุ่ม โปรแกรมชนิดนี้ดดยทั่วไปนิยมใช้กันในเครื่องมืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น ที่เปิดประตูอัตโนมัติ เครื่องกดเงินด่วน (ATM) เป็นต้น

โปรแกรมแปลงภาพและแต่งภาพ
          เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ก่อให้เกิดสื่อด้านลามกขึ้นมากมายเพราะมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับใช้ในการตกแต่งภาพและแปลงภาพในรูปแบบต่างๆ เช่น โปรแกรม Photoshops, Illustrator หรือ Photo Editor ซึ่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์เหล่านี้ เมื่อนำไปใช้ในทางที่ถูกต้องก้จะทำให้เกิดภาพที่สวยงาม หรือเป็นการสร้างภาพงานศิลปะ เช่น การปรับแต่งรูปภาพนางแบบสำหรับนิตยสารเพื่อช้วยให้ได้ภาพที่สวยงาม ในส่วนใดที่มีข้อบกพร่องก็สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการแต่งเติมรูปภาพได้ แต่ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นระบบที่เปิดกว้างในการใช้งานกับบุคคลทุกคน ซึ่งจะมีทุกกลุ่มบุคคลและทุกประเภทที่สามารถเข้ามาใช้งานโดยมีบางคนที่ขาดคุณธรรม จริยธรรมในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งได้นำภาพที่ไม่เหมาะสมของกลุ่มคนที่มีชื่อเสียง เช่น ดารา นักร้อง หรือนำภาพของบุคคลเหล่านั้นไปใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการตกแต่งภาพ ซึ่งเป็นภาพที่บิดเบือนจากความเป็นจริงดยส่วนมากจะเป็นภาพที่ส่อให้เกิดภาพอนาจาร แล้วนำไปเผยแพร่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่บุคคลนั้น นับว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ในอดีตจะไม่มีการคุ้มครอง ซึ่งบุคคลที่กระทำการแปลงภาพเหล่านี้จะไม่ถูกดำเนินคดีทางกฏหมาย แต่ในปัจจุบันได้มีการออกกฏหมายด้านเทคโนโลยีด้านสารสนเทศขึ้นมาเพื่อดำเนินคดีสำหรับผู้กระทำการปลอบแปลงภาพ โดยจะถือว่าผู้ใดที่ทำการปลอมแปลงภาพซึ่งบิดเบือยจากความเป็นจริง ถือว่ากระทำการที่ผิดกฏหมาย

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
          เทคโนโลยีที่ทันสมัย แม้จะช่วยอำนวยความสะดวกได้มากเพียงใดก็ตาม สิ่งที่ต้องยอมรับความจริงก็คือ เทคโนโลยีทุกอย่างมีจุดเด่น ข้อด้อยของตนทั้งสิ้น ทั้งที่มาจากตัวเทคโนโลยีเอง และมาจากปัญหาอื่นๆ เช่น บุคคลที่มีจุดประสงค์ร้าย ในโลก cyberspace อาชญากรรมคอมพิวเตอร์เป็นปัญหาหลักที่นับว่ายิ่งมีความรุนแรง เพิ่มมากขึ้น ประมาณกันว่ามีถึง 230% ในช่วงปี 2002 และ แหล่งที่เป็นจุดโจมตีมากที่สุดก็คือ อินเทอร์เน็ต นับว่ารุนแรงกว่าปัญหาไวรัสคอมพิวเตอร์เสียด้วยซ้ำ หน่วยงานทุกหน่วยงานที่นำไอทีมาใช้งาน จึงต้องตระหนักในปัญหานี้เป็นอย่างยิ่ง จำเป็นต้องลงทุนด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัย ระบบซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพ การวางแผน ติดตาม และประเมินผลที่ต้องกระทำอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง แต่ไม่ว่าจะมีการป้องกันดีเพียงใด ปัญหาการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ก็มีอยู่เรื่อยๆ ทั้งนี้ระบบการโจมตีที่พบบ่อยๆ ได้แก่

         
          Hacker & Cracker อาชญากรที่ได้รับการยอมรับว่ามีผลกระทบต่อสังคมไอทีเป็นอย่างยิ่ง บุลากรในองค์กร หน่วยงานคุณไล่พนักงานออกจากงาน, สร้างความไม่พึงพอใจให้กับพนักงาน นี่แหล่ะปัญหาของอาชญกรรมได้เช่นกัน

          Buffer overflow เป็นรูปแบบการโจมตีที่ง่ายที่สุด แต่ทำอันตรายให้กับระบบได้มากที่สุด โดยอาชญากรจะอาศัยช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ และขีดจำกัดของทรัพยากรระบบมาใช้ในการจู่โจม การส่งคำสั่งให้เครื่องแม่ข่ายเป็นปริมาณมากๆ ในเวลาเดียวกัน ซึ่งส่งผลให้เครื่องไม่สามารถรันงานได้ตามปกติ หน่วยความจำไม่เพียงพอ จนกระทั่งเกิดการแฮงค์ของระบบ เช่นการสร้างฟอร์มรับส่งเมล์ที่ไม่ได้ป้องกัน ผู้ไม่ประสงค์อาจจะใช้ฟอร์มนั้นในการส่งข้อมูลกระหน่ำระบบได้

          Backdoors นักพัฒนาเกือบทุกราย มักสร้างระบบ Backdoors เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน ซึ่งหากอาชญากรรู้เท่าทัน ก็สามารถใช้ประโยชน์จาก Backdoors นั้นได้เช่นกัน

          CGI Script ภาษาคอมพิวเตอร์ที่นิยมมากในการพัฒนาเว็บเซอร์วิส มักเป็นช่องโหว่รุนแรงอีกทางหนึ่งได้เช่นกัน

          Hidden HTML การสร้างฟอร์มด้วยภาษา HTML และสร้างฟิลด์เก็บรหัสแบบ Hidden ย่อมเป็นช่องทางที่อำนวยความสะดวกให้กับอาชญากรได้เป็นอย่างดี โดยการเปิดดูรหัสคำสั่ง (Source Code) ก็สามารถตรวจสอบและนำมาใช้งานได้ทันที

          Failing to Update การประกาศจุดอ่อนของซอฟต์แวร์ เพื่อให้ผู้ใช้นำไปปรับปรุงเป็นทางหนึ่งที่อาชญากร นำไปจู่โจมระบบที่ใช้ซอฟต์แวร์นั้นๆ ได้เช่นกัน เพราะกว่าที่เจ้าของเว็บไซต์ หรือระบบ จะทำการปรับปรุง (Updated) ซอตฟ์แวร์ที่มีช่องโหว่นั้น ก็สายเกินไปเสียแล้ว

          Illegal Browsing ธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ต ย่อมหนีไม่พ้นการส่งค่าผ่านทางบราวเซอร์ แม้กระทั่งรหัสผ่านต่างๆ ซึ่งบราวเซอร์บางรุ่น หรือรุ่นเก่าๆ ย่อมไม่มีความสามารถในการเข้ารหัส หรือป้องกันการเรียกดูข้อมูล นี่ก็เป็นอีกจุดอ่อนของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้เช่นกัน

          Malicious scripts ก็เขียนโปรแกรมไว้ในเว็บไซต์ แล้วผู้ใช้เรียกเว็บไซต์ดูบนเครื่องของตน มั่นใจหรือว่าไม่เจอปัญหา อาชญากรอาจจะเขียนโปรแกรมแผงในเอกสารเว็บ เมื่อถูกเรียก โปรแกรมนั่นจะถูกดึงไปประมวลผลฝั่งไคลน์เอ็นต์ และทำงานตามที่กำหนดไว้อย่างง่ายดาย โดยเราเองไม่รู้ว่าเรานั่นแหล่ะเป็นผู้สั่งรันโปรแกรมนั้นด้วยตนเอง น่ากลัวเสียจริงๆๆ

          Poison cookies ขนมหวานอิเล็กทรอนิกส์ ที่เก็บข้อมูลต่างๆ ตามแต่จะกำหนด จะถูกเรียกทำงานทันทีเมื่อมีการเรียกดูเว็บไซต์ที่บรรจุคุกกี้ชิ้นนี้ และไม่ยากอีกเช่นกันที่จะเขียนโปรแกรมแฝงอีกชิ้น ให้ส่งคุกกี้ที่บันทึกข้อมูลต่างๆ ของผู้ใช้ส่งกลับไปยังอาชญากร

           ไวรัสคอมพิวเตอร์ ภัยร้ายสำหรับหน่วยงานที่ใช้ไอทีตั้งแต่เริ่มแรก และดำรงอยู่อย่างอมตะตลอดกาล ในปี 2001 พบว่าไวรัส Nimda ได้สร้างความเสียหายได้สูงสุด เป็นมูลค่าถึง 25,400 ล้าบบาท ในทั่วโลก ตามด้วย Code Red, Sircam, LoveBug, Melissa ตามลำดับที่ไม่หย่อนกว่ากัน


          อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ที่สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจ 10 อันดับ ได้แก่
            1. การทำให้ระบบไม่สามารถให้บริการได้
            2. การขโมยข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต โดยเแพาะข้อมูลที่เป็นความลับต่างๆ เช่น ข้อมูล บัตรเครดิต เป็นต้น
            3. การโจมตีระบบจากคนภายในองค์กร
            4. การโจมตีระบบเครือข่ายไร้สาย
            5. การฉ้อโกงเงิน โดยใช้คอมพิวเตอร์แอบโอนเงินจากบัญชีผู้อื่นเข้าบัญชีตนเอง
            6. การถูกขโมยคอมพิวเตอร์ Notebook
            7. การเข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต
            8. การฉ้อโกงด้านโทรคมนาคม
            9. การใช้เว็บแอพพลิเคชั่นด้านสารณะในทางที่ผิด โดยใช้คอมพิวเตอร์แพร่ภาพ เสียง ลามก อนาจาร และข้อมูลไม่เหมาะสม
            10. การเปลี่ยนโฉมเว็บไซต์โดยไม่ได้รับอนุญาต

บัญญัติ 10 ประการ ด้านความปลอดภัยของอินเทอร์เน็ต
            1. ตั้งรหัสผ่านที่ยากแก่การเดา
            2. เปลี่ยนรหัสผ่านสม่ำเสมอ เช่น ทุก 3 เดือน
            3. ปรับปรุงโปรแกรมป้องกันไวรัสตลอดเวลา
            4. ให้ความรู้แก่บุคลากรในเรื่องความปลอดภัยในการรับไฟล์ หรือการดาวน์โหลดไฟล์จากอินเตอร์เน็ต
            5. ติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับเครื่อข่ายอย่างสมบูรณ์
            6. ประเมินสถานการณ์ของความปลอดภัยในเครื่อข่ายอย่างสม่ำเสมอ
            7. ลบรหัสผ่าน และบัญชีการใช้ของพนักงานที่ออกจากหน่วยงานทันที
            8. วางระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับการเข้าถึงระบบของพนักงานจากภายนองหน่วยงาน
            9. ปรับปรุงซอฟต์แวร์อย่างสม่ำเสมอ
           10. ไม่ใช้การบริการบางตัวบนเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างไม่จำเป็น 


วิธีการประกอบอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
            Data Diddling คือ การเปลี่ยนแปลงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือระหว่างที่กำลังบันทึกข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
    การเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าวนี้สามารถกระทำโดยบุคคลที่สามารถเข้าถึงตัวข้อมูลได้ เช่น พนักงานที่มีหน้าที่บันทึกเวลา
    การทำงานของพนักงานทั้งหมด ทำการแก้ไขตัวเลขชั่วโมงการทำงานของคนอื่นมาเป็นชั่วโมงการทำงานของตนเอง เป็นต้น

              Trojan Horse คือ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่แฝงไว้ในโปรแกรมที่มีประโยชน์ เมื่อถึงเวลาโปรแกรมที่ไม่ดี
    จะปรากฏตัวขึ้นเพื่อปฏิบัติการทำลายข้อมูล วิธีนี้มักจะใช้กับการฉ้อโกงทางคอมพิวเตอร์ หรือการทำลายล้างข้อมูล หรือระบบ
    คอมพิวเตอร์

              Salami Techniques คือ วิธีการปัดเศษจำนวนเงิน เช่น ทศนิยมตัวที่ 3 หรือปัดเศษทิ้งให้เหลือแต่จำนวนเงิน
    ที่จ่ายได้ และจะทำให้ผลรวมของบัญชียังคงสมดุล (Balance) และจะไม่มีปัญหากับระบบควบคุมเนื่องจากไม่มีการนำเงิน
    ออกจากระบบบัญชี นอกจากใช้กับการปัดเศษเงินแล้ววิธีนี้อาจใช้กับระบบการตรวจนับของในคลังสินค้า

              Super zapping มาจากคำว่า Super zap เป็นโปรแกรม Macro Utility ที่ใช้เป็นศูนย์คอมพิวเตอร์
    ของบริษัท IBM เพื่อใช้เป็นเครื่องมือของระบบ (System Tool) ทำให้สามารถเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ได้ในกรณีฉุกเฉิน
    เสมือนกุญแจดอกอื่นหายหรือมีปัญหา โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Program) เช่นโปรแกรม Super zap
    จะมีความเสี่ยงมากหากตกไปอยู่ในมือผู้ที่ไม่หวังดี

              Trap Doors เป็นการเขียนโปรแกรมที่เลียนแบบคล้ายหน้าจอปกติของระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อลวงผู้ที่มาใช้
    คอมพิวเตอร์ ทำให้ทราบถึงรหัสประจำตัว (ID Number) หรือรหัสผ่าน (Password) โดยโปรแกรมนี้จะเก็บข้อมูล
    ที่ต้องการ ไว้ในไฟล์ลับ

              Logic Bombs เป็นการเขียนโปรแกรมที่มีคำสั่งอย่างมีเงื่อนไขไว้ โดยโปรแกรมจะเริ่มทำงานต่อเมื่อมีสภาวะ หรือ
    สภาพการณ์ ตามที่ผู้สร้างโปรแกรมกำหนด สามารถใช้ติดตามดูความเคลื่อนไหวของระบบบัญชี ระบบเงินเดือน
    แล้วทำการเปลี่ยนแปลงตัวเลขดังกล่าว

              Asynchronous Attack เนื่องจากการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์เป็นการทำงานแบบ Asynchronous คือ
    สามารถทำงานหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน โดยการประมวลผลข้อมูลเหล่านั้นจะเสร็จไม่พร้อมกัน ผู้ใช้งานจะทราบว่างาน
    ที่ประมวลผลเสร็จหรือไม่ก็ต่อเมื่อเรียกงานนั้นมาดู ระบบดังกล่าวก่อให้เกิดจุดอ่อน ผู้กระทำความผิดจะฉวยโอกาสในระหว่าง
    ที่เครื่องกำลังทำงาน เข้าไปแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือกระทำการอื่นใดโดยที่ผู้ใช้ไม่ทราบว่ามีการกระทำผิดเกิดขึ้น

              Scavenging คือ วิธีการที่จะได้ข้อมูลที่ทิ้งไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ หรือบริเวณใกล้เคียงหลังจากเสร็จการใช้งานแล้ว
    วิธีที่ง่ายที่สุด คือ ค้นหาตามถังขยะที่อาจมีข้อมูลสำคัญไม่ว่าจะเป็นเบอร์โทรศัพท์ หรือรหัสผ่านหลงเหลืออยู่ หรืออาจใช้
    เทคโนโลยีที่ซับซ้อนทำการหาข้อมูลที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อผู้ใช้เลิกงานแล้ว

              Data Leakage คือ การทำให้ข้อมูลรั่วไหลออกไป อาจโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจก็ตาม เช่น การแผ่รังสี
    ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในขณะที่กำลังทำงานคนร้ายอาจตั้งเครื่องดักสัญญาณไว้ใกล้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อผู้ใช้เลิกใช้งาน

              Piggybacking วิธีการนี้สามารถทำได้ทางกายภาพ (Physical) คือ การที่คนร้ายจะลักลอบเข้าไปในประตูที่มีระบบ
    รักษาความปลอดภัย คนร้ายจะรอให้บุคคลที่มีอำนาจหรือได้รับอนุญาตมาใช้ประตูดังกล่าว เมื่อประตูเปิดและบุคคลนั้นได้เข้าไป
    คนร้ายก็ฉวยโอกาสตอนที่ประตูยังปิดไม่สนิทแอบเข้าไปได้ ในทางอิเล็กทรอนิกส์ก็เช่นเดียวกัน อาจเกิดในกรณีที่ใช้สายสื่อสาร
    เดียวกับผู้ที่มีอำนาจใช้ หรือได้รับอนุญาต เช่น ใช้สายเคเบิล หรือโมเด็มเดียวกัน

              Impersonation คือ การที่คนร้ายแกล้งปลอมเป็นบุคคลอื่นที่มีอำนาจ หรือได้รับอนุญาต เช่น เมื่อคนร้ายขโมย
    บัตรเอทีเอ็มของเหยื่อได้ก็จะโทรศัพท์และแกล้งทำเป็นเจ้าพนักงานของธนาคาร และแจ้งให้เหยื่อทราบว่ากำลังหาวิธีการป้องกัน
    ไม่ให้เงินในบัญชีของเหยื่อสูญหายจึงบอกให้เหยื่อเปลี่ยนรหัสผ่าน โดยให้เหยื่อบอกรหัสเดิมก่อน คนร้ายจึงทราบหมายเลขรหัส
    และได้เงินของเหยื่อไป

              Wiretapping เป็นการลักลอบดักฟังสัญญาณการสื่อสารโดยเจตนาที่จะได้รับประโยชน์จากการเข้าถึงข้อมูลผ่าน
    เครือข่ายการสื่อสาร หรือที่เรียกว่าโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศโดยการกระทำความผิดดังกล่าวกำลังเป็นที่หวาดวิตกกับ
    ผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก

              Simulation and Modeling ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนการควบคุมและติดตาม
    ความเคลื่อนไหวในการประกอบอาชญากรรม และกระบวนการดังกล่าวก็สามารถใช้โดยอาชญากร ในการสร้างแบบจำลอง
    ในการวางแผน เพื่อประกอบอาชญากรรมได้เช่นกัน เช่น ในกิจการประกันภัยมีการสร้างแบบจำลองในการปฏิบัติการ หรือ
    ช่วยในการตัดสินใจ ในการทำกรมธรรม์ประกันภัย โปรแกรมสามารถทำกรมธรรม์ประกันภัยปลอมขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ส่งผล
    ให้บริษัทประกันภัยจริงล้มละลาย เมื่อถูกเรียกร้องให้ต้องจ่ายเงินให้กับกรมธรรม์ที่ขาดการต่ออายุ หรือกรมธรรม์ที่มีการจ่ายเงิน
    เพียงการบันทึก (จำลอง) ไม่ได้รับเบี้ยประกันจริง หรือต้องจ่ายเงินให้กับกรมธรรม์ที่เชื่อว่ายังไม่ขาดอายุ



ประเภทของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
     อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Cyber-Crime) เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อโจมตีระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลที่อยู่บนระบบดังกล่าว ส่วนในมุมมองที่กว้างขึ้น “อาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคอมพิวเตอร์” หมายถึงการกระทำที่ผิดกฎหมายใดๆ ซึ่งอาศัยหรือมีความเกี่ยวเนื่องกับระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อย่างไรก็ตาม อาชญากรรมประเภทนี้ไม่ถือเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์โดยตรงในการประชุมสหประชาชาติครั้งที่ 10 ว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด (The Tenth United Nations Congress on the Prevention of Crime and the Treatment of Offenders) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 10-17 เมษายน 2543 ได้มีการจำแนกประเภทของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งเป็น 5 ประเภท คือ การเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต, การสร้างความเสียหายแก่ข้อมูลหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์, การก่อกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย, การยับยั้งข้อมูลที่ส่งถึง/จากและภายในระบบหรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และการจารกรรมข้อมูลบนคอมพิวเตอร์
       โครงการอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์และการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา (Cyber-Crime and Intellectual Property Theft) พยายามที่จะเก็บรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูล และค้นคว้าเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 6 ประเภท ที่ได้รับความนิยม ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนและผู้บริโภค นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขอบเขตและความซับซ้อนของปัญหา รวมถึงนโยบายปัจจุบันและความพยายามในการปัญหานี้  อาชญากรรม 6 ประเภทดังกล่าวได้แก่ 

  1. การเงิน – อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม อี-คอมเมิร์ซ(หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์)
     
  2. การละเมิดลิขสิทธิ์ – การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นสื่อในการก่ออาชญากรรม แบบเก่า โดยการโจรกรรมทางออนไลน์หมายรวมถึง การละเมิดลิขสิทธิ์ ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์
     
  3. การเจาะระบบ – การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และในบางกรณีอาจหมายถึงการใช้สิทธิการเข้าถึงนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้การเจาะระบบยังอาจรองรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นๆ (เช่น การปลอมแปลง การก่อการร้าย ฯลฯ)
     
  4. การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ – ผลสืบเนื่องจากการเจาะระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว เช่นเดียวกับการก่อการร้ายทั่วไป โดยการกระทำที่เข้าข่าย การก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-terrorism) จะเกี่ยวข้องกับการเจาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อก่อเหตุรุนแรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน หรืออย่างน้อยก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว
     
  5. ภาพอนาจารทางออนไลน์ – ตามข้อกำหนด 18 USC 2252 และ 18 USC 2252A การประมวลผลหรือการเผยแพร่ภาพอนาจารเด็กถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และตามข้อกำหนด 47 USC 223 การเผยแพร่ภาพลามกอนาจารในรูปแบบใดๆ แก่เยาวชนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงช่องทางใหม่สำหรับอาชญากรรม แบบเก่า อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการควบคุมช่องทางการสื่อสารที่ครอบคลุมทั่วโลกและเข้าถึงทุกกลุ่มอายุนี้ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงและการโต้แย้งอย่างกว้างขวาง
     
  6. ภายในโรงเรียน – ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการศึกษาและสันทนาการ แต่เยาวชนจำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้งานเครื่องมืออันทรงพลังนี้อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ โดยเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมาย สิทธิของตนเอง และวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด

หน่วยที่ 9 การสนทนาออนไลน์


การสนทนาออนไลน์
          การสนทนาออนไลน์ หรือที่เรียกว่า Chat (IRC : Internet Rclay Chat) เป็นการสื่อสารในลักษณะข้อความ ภาพ หรือเสียง ที่ทำให้คู่สนทนาสามารถโต้ตอบได้ทันที เป็นรูปแบบของการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมอย่างยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งการสนทนาออนไลน์นั้นจะมีรุปแบบการสื่อสารแตกต่างไปจากการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เพราะลักษณะการสื่อสารโดยใช้อีเมล์นั้น เหมือนกับการส่งจดหมายทั่วๆไป คือผู้ส่งจะต้องทราบที่อยู่ของผู้รับจึงจะสามารถส่งจดหมายได้ ถึงแม้การส่งอีเมลนั้นสามารถที่จะส่งได้ทั้งข้อความ ภาพ เสียง เช่นเดียวกับการสนทนาออนไลน์ก็ตาม แต่จะไม่สามารถโต้ตอบกันได้ในทันที เหมือนกับที่เราเขียนจดหมายไปหาเพื่อนเราก็ต้องส่งที่ตู้จดหมาย บุรุษไปรษณีย์ก็จะนำจดหมายจากตู้ส่งไปยังผู้รับตามที่อยู่ ฉะนั้น จดหมายจะไม่สามารถส่งถึงกันได้ในทันทีทันใด จะต้องมีระยะเวลาที่บุรุษไปรษณีย์ เดินทางนำจดหมายไปส่งให้ผู้รับตามที่อยู่ด้วย
          ดังนั้น การสนทนาออนไลน์จะทำให้เราสามารถสื่อสารกันได้ทันที และเราไม่จำเป็นต้องทราบที่อยู่ของคู่สนทนาก๋สามารถพูดคุยกันได้ เพียงแต่คู่สนทนาของเรานั้นต้องอยู่ภายในห้องสนทนา หรือที่เรียกว่า Chat Room เดียวกันก็สามารถสื่อสารกันได้ และการสื่อสารในรูปแบบการสนทนาออนไลน์นั้น สามารถสนทนากับคู่สนทนาพร้อมกันได้หลายๆคน เหมือนกับการเปิดเข้าไปในห้องสนทนาซึ่งภายในห้องนั้นจะมีเพื่อนๆ อยู่จำนวนมาก เราสามารถเลือกคู่สนทนาได้ และคนอื่นๆก็สามารถที่จะขอสนทนากับเราได้ด้วยในเวลาเดียวกัน

รูปแบบการสนทนาออนไลน์ (Chat)
          การสนทนาออนไลน์จะมีหลายรูปแบบ โดยแบ่งตามวิธีการสื่อสาร ดังต่อไปนี้
การสนทนาออนไลน์ผ่านเซิร์ฟเวอร์กลาง
          เป็นลักษณะการสนทนาแบบเป็นกลุ่ม โดยผู้สนทนาจะพิมพ์ข้อความที่ต้องการสื่อสารผ่านไปยังเซิร์ฟเวอร์ และเซิร์ฟเวอร์จะส่งข้อความเหล่านั้นออกมาแสดงบนหน้าจอของทุกคนที่กำลังติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์อยู่ ซึ่งเราเรียกว่า "ห้องสนทนา"(Chat Room) โดยจะจัดแบ่งห้องสนทนาตามหัวข้อที่ต้องการจะสื่อสารกัน เพื่อให้คนที่ต้องการจะพูดคุยกับบุคคลภายในห้องสนทนานั้นสามารถเปิดเข้าไปพุดคุยในห้องสนทนา หรือในหัวข้อเรื่องที่เราสนใจได้ เช่น ห้องการ์ตูน ห้องการศึกษา ห้องการเมือง ห้องภาพยนต์ ห้องเพลง เป็นต้น ภายในห้องจะมีคนหลายๆ คนที่มีความสนใจในห้องเดียวกัน สามารถพูดคุยกันภายในกลุ่มด้วยการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันและเป็นการพูดคุยพร้อมๆ กันหลายคน

          วิธีการสนทนาออนไลน์ผ่านทางเซิร์ฟเวอร์กลาง จะมีเทคนิคเพื่อให้เลือกใช้บริการ ดังนี้

          1. การสนทนาออนไลน์ผ่านดปรแกรม คือ ลักษณะการสนทนาด้วยข้อความในห้องสนทนาโดยใช้โปรแกรมบนแต่ละเครื่องของผู้ใช้ ซึ่งจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทำให้สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก และมีเซิร์ฟเวอร์ให้เลือกมากมาย เช่น PIRCH, mIRC และ Comic Chat ติดต่อกับเซร์ฟเวอร์กลางวึ่งจะทำงานในระบบ IRC (Internet Rclay Chat) ซึ่งเป็นมาตรฐานหนึ่งของระบบอินเทอร์เน็ต
          2. การสนทนาออนไลน์ผ่านเว็บ (Web Chat) คือ รูปแบบของการนำวิธีการทำงานบนเว็บเซิร์ฟเวอร์มาทำให้เกิดห้องสนทนา บนเว็บเพจของผู้ที่เข้าไปใช้บริการ โดยไม่ต้องมีโรแกรมรันอยู่บนเครื่องของผู้สนทนา ปัจจุบันการสนทนาออนไลน์ผ่านเว็บได้นำเทคโนโลยี "จาวา" มาใช้ในการเขียนโปรแกรมที่สามารถรันได้ทันทีบนเว็บเราว์เซอร์โดยไม่ต้องทำการติดตั้ง ซึ่งเป็นการเพิ่มลูกเล่นให้ห้องสนทนามีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้นทำให้น่าสนใจ การเริ่มใช้งานครั้งแรกจะต้องดาวน์โหลดโปรแกรม Jave Applet มาทำการติดตั้งก่อน แล้วจะสามารถเริ่มสนทนาได้ ซึ่งโปรแกรมจะทำงานดดยติดต่อกับเครื่องที่เป็นเซิร์ฟเวอร์กลางด้วยระบบ IRC หรือทำงานกับเว็บเซิร์ฟเวอร์เลยก็ได้

ขั้นตอนการสนทนาแบบ Chat Room
     1. พิมพ์ URL ที่ช่อง Address : http://www.sanook.com/
     2. คลิกเลือกที่ คุยสด จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
          Jave Chat ซึ่งจะต้องติดตั้งโปรแกรม Jave Applet ก่อนจึงจะสามารถสนทนารูปแบบนี้ได้
          Classic Chat เป็นรูปแบบดั้งเดิมของการสนทนาออนไลน์โดยผ่านเซิร์ฟเวอร์ สามารถใช้งานได้ทันทีดดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมใดๆเพิ่มเติม
     3. เมื่อเลือก Classic Chat จะมีรายชื่อของห้องสนทนาต่างๆภายในเซิร์ฟเวอรืแสดงออกมาให้ผู้ใช้ได้เลือกตามคามสนใจ เพื่อจะได้เข้าไปคุยกับเพื่อนๆ ภายในห้องสนทนาที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน
     4. เมื่อเลือกห้องที่ต้องการสนทนาได้แล้ว จะปรากฏเว็บเพจในการแนะนำวิธีการ Log on เพื่อขอใช้บริการ พร้อมทั้งให้พิมพ์ชื่อ และสีของข้อความที่ต้องการใช้ในระหว่างการสนทนา เมื่อกำหนนดเรียนร้อยแล้วให้คลิกที่ "เข้าห้อง"
     5. เมื่อเข้าไปภายในห้องสนทนาแล้ว จะปรากฏชื่อของสมาชิกทั้งหมดภายในห้องสนทนานี้ และการสนทนาสามารถเลือกได้ว่าเราจะส่งข้อความถึงใคร หรือส่งถึงทุกคนภายในห้องก็ได้ แต่ข้อความที่แสดงบนหน้าจอ ทุกคนที่อยู่ภายในห้องสนทนานั้นจะเห็นด้วยกันทั้งหมด
     6. เมื่อเลือกผู้สนทนาที่เราต้องการส่งข้อความถึงแล้วนั้น เราก็ทำการพิมพ์ข้อความมราต้องการจะส่งไป แล้วคลิกเลือก Update ข้อความของเราจะไปปรากฏบนหน้าจอของทุกคนที่ใช้ห้องสนทนานี้
     7. เมื่อต้องการออกจากห้องสนทนา ให้คลิกที่ Logoff
     8. เพียงการทำงานตามขั้นตอนนี้ เราก็สามารถเข้าไปสนทนายังห้องสนทนาต่างๆ ได้โดยไม่ต้องทำการลงทะเบียนสมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ที่ให้บริการเหล่านั้น และเมื่อทำการ Logoff ออกจากห้องสนทนาห้องใดห้องหนึ่งแล้ว ก็สามารถที่จะเปลี่ยนไปสนทนายังห้องอื่นๆ ต่อไปได้อีก

การสนทนาออนไลน์โดยตรงระหว่างผู้ใช้อินเทอรืเน็ต
          วิธีการสนทนาออนไลน์รูปแบบนี้จะไม่ต้องผ่านเซิร์ฟเวอร์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "การรับส่งสารแบบทันทีทันใด" หรือ Instant Messaging เช่น โปรแกรม ICQ, MSN Messenger, Yahoo Messenger, Windows Messenger เป็นต้น การสนทนาในรูปแบบนี้จะใช้โปรแกรมที่ถูกออกแบบสำหรับการใช้งานโดยเฉพาะ มีลูกเล่นที่อำนวยความสะดวกใรการสนทนา จะเป็นรูปแบบของการสนทนาแบบตัวต่อตัว มิใช่ลักษณะการสนทนาในแบบห้องสนทนา หรือเรียกการสนทนาแบบเป็นกลุ่มเหมือนกับรูปแบบของการสนทนาโดนผ่านเซิร์ฟเวอร์กลาง และจะไม่ทำให้การสนทนารูปแบบนี้ช้า ถึงแม้ว่าจะมีผู้ใช้พร้อมกันจำนวนมากก็ตาม

ขั้นตอนการสนทนาแบบ Instant Messaging
     1. พิมพ์ URL ที่ช่อง Address : http://mwssenger/yahoo.com
     2. เมื่อปรากฏหน้าจอของ Yahoo! Messenger เรียบร้อยแล้ว จะประกอบด้วย 2 กรณี คือ
         กรณีที่ 1 เป็นสมาชิก E-mail ที่ yahoo.com ให้คลิกเลือกที่ Sign In
         จะปรากฏหน้าจอของการ Login เข้าไปยัง yahoo.com โดยจะใช้ Yahoo! ID และ Password เช่นเดียวกับการ Login เข้าไปยังการใช้งาน E-mail ของ yahoo.com
         กรณีที่ 2 ยังไม่ได้เป็นสามาชิก E-mail ที่ yahoo.com ให้คลิกเลือกที่  Sign Up
         จะให้ทำการลงทะเบียนสมาชิกโดยจะมีรูปแบบเช่นเดียวกับการสมัครเป็นสมาชิกเพื่อขอใช้ E-mail ใน yahoo.com 
     3. คลิกที่ Features เพื่อดูรายละเอียดของโปรแกรมและจะสามารถดาวน์โหลดโปนแกรม messenger ของ yahoo.com ซึ่งจะมีรายละเอียดเพื่อให้ได้ศึกาาก่อน
     4. เมื่อคลิกเลือก Download จะมีหน้าต่าง File Download ให้เลือกที่ Open โปรแกรมจะทำการดาวน์โหลดให้จนกว่าจะเสร็จเรียบร้อย
     5. เมื่อดาวน์โหลดเรียบร้อยแล้ว จะปรากฏหน้าต่าง Yahoo! Messenger Installation เพื่อทำการติดตั้งโปรแกรม Yahoo! Messenger ให้คลิกที่ Next เพื่อเริ่มต้นการติดตั้งโปรแกรม และทำตามขั้นตอนของการติดตั้งโปรแกรมจนกว่าจะเสร็จเรียนร้อยทุกขั้นตอน
     6. เมื่อติดตั้งโปรแกรมที่ใช้ในการสนทนาเรียบร้อยแล้วจะปรากฏหน้าต่าง Sign In เพื่อใช้งานในลำดับต่อไป
     7. เมื่อ Sign In โดยกำหนด Yahoo! ID และ Password ถูกต้องแล้วจะทำการติดต่อไปยัง Yahoo! ซึ่งจะปรากฏ Yahoo! ID ของผู้ขอใช้บริการด้วย เช่น Connecting to Yahoo! as s_kuleapee
     8. จะทำการเพิ่มชื่อใน Messenger List โดยคลิกที่ Add ปรากฏหน้าต่าง Add to Messenger List ให้กรอกข้อมูลตามช่องที่กำหนดให้
     9. ให้ทำการเลือกห้องสนทนาที่ต้องการจะเข้าไปคุยกับบุคคลต่างๆ ที่อยู่ภายในห้องนั้นโดยจัดห้องตามกลุ่มที่มีความสนใจในเรื่องต่างๆกันไป เมื่อเลือกกลุ่มจะสนทนาได้แล้วให้คลิกที่ Go to Room เพื่อขอเข้าไปยังห้องสนทนาห้องที่ได้ทำการเลือกไว้
    10. ถ้าต้องการจะคุยกับคนใด ก็สามารถที่จะคลิกเลือกตามรายชื่อที่ปรากฏอยู่ภายในห้องนั้น หรือถ้ามีคนใดที่ต้องการจะคุยกับเรา ก็สามารถที่จะคลิกเลือกที่ชื่อของเราได้เช่นกัน
    11. ที่แถบสถานะ (status bar) จะปรากฏรายชื่อของผู้ที่กำลังสนทนาอยู่กับเรา และการสนทนานั้นจะสามารถสนทนากันได่หลายรูปแบบ เช่น 
ข้อความ กล้อง webcam หรือรูปภาพ 
    12. จะมีสัญลักษณ์ของ Yahoo! Messenger อยู่ที่หน้าจอ Desktop เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อการสนทนาในครั้งต่อๆไป


เว็บไซต์ที่ให้บริการสนทนาออนไลน์

หน่วยที่ 8 การค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต


การค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต

          ในปัจจุบันโลกของอินเทอร์เน็ตมีข้อมูลให้เราได้ค้นหาอย่างมากมาย  ซึ่งจะมีเว็บไซต์ที่บรรจุข้อมูลเพื่อให้เราเข้าไปค้นหา แต่เราต้องการพิมพ์ชื่อเว็บไซต์เหล่านั้นเพื่อเข้าไปค้นหาข้อมูลก็ทำให้เราต้องรู้จัก URL ของเว็บไซต์ต่างๆ เหล่านั้น ทำให้ผู้ใช้ไม่สะดวกในการใช้งาน จึงได้มีผู้สร้างโปรแกรมขึ้นโดยรวบรวมเว็บไซต์ต่างๆ ไว้ โดยจัดไว้เป็นหมวดหมู่ของข้อมูลเหมือนกับห้องสมุดที่มีหนังสือมากมายก็จำเป็นที่ต้องตั้งหมวดหมู่หนังสือเพื่อจะได้จัดหนังสือให้เป็นระเบียบตามหมวดหมู่ ผู้ที่เข้ามาใช้งานก็สามารถหาหนังสือตามหมวดหมู่ที่ต้องการได้ทันที ซึ่งภายในหมวดหมู่นั้นก็จะมีหนังสือหลายๆ เล่มให้เราเลือกเช่นเดียวกับการจัดหมวดหมู่ของว็บไซต์ที่ได้รวบรวมไว้เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาได้ง่ายขึ้น โดยเลือกค้นหาตามหมวดหมู่ หรือ หัวข้อเรื่องที่ตนเองสนใจได้โดยไม่ต้องรู้จัก URL ของเว็บไซต์นั้น เพียงแต่เรากรอกคำหรือหัวเรื่องที่เราต้องการค้นหา เว็บไซต์ต่างๆ ที่มีเนื้อหาในเรื่องเดียวกันก็จะแสดงออกมาวิธีนี้เป็นลักษณะของการใช้เครื่องมือช่วยในการค้นหาข้อมูลที่เรียกว่า “เครื่องจักรค้นหา”  (Search Engine)  เครื่องจักรค้นหา (Search Engine) คือ เครื่องมือ หรือเว็บไซต์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในการค้นหาข้อมูลและข่าวสารในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ประเภทของการค้นหาข้อมูล
         การค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต สามารถแบ่งตามลักษณะการทำงานได้ 3 ประเภท คือ


Metasearch การค้นหาข้อมูลจากหลายแหล่งข้อมูล
         เป็นลักษณะของการค้นหาข้อมูลจากหลายๆ Search Engine ในเวลาเดียวกัน เพราะเว็บไซต์ที่เป็น Metasearch จะไม่มีฐานข้อมูลของตนเอง แต่จะค้นหาเว็บเพจที่ต้องการโดยวิธีการดึงจากฐานข้อมูลของ Search Site จากหลายๆ แห่งมาใช้ แล้วจะแสดงผลให้เลือกตามต้องการ เช่น www.thaifind.com

                Search Engine การค้นหาข้อมูลด้วยคำที่เจาะจง
                  Search Engine เป็นเว็บไซต์ที่ช่วยในการค้นหาข้อมูลโดยใช้โปรแกรมช่วยในการค้นหาที่เรียกว่า “Robot” ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ในอินเทอร์เน็ตมาเก็บไว้ในฐานข้อมูลซึ่งการค้นหาข้อมูลรูปแบบนี้จะช่วยให้สามารถค้นหาข้อมูลได้ตรงกับความต้องการ เพราะได้ระบุคำที่เจาะจงลงไป เพื่อให้ Robot เป็นตัวช่วยในการค้นหาข้อมูล ซึ่งเป็นรูปแบบที่เป็นที่นิยมมากเช่นwww.google.co.th


Search Directories การค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่
            การค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่โดยมีเว็บไซต์ที่เป็นตัวกลางในการรวบรวมข้อมูลในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยจัดข้อมูลเป็นหมวดหมู่เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกข้อมูลตามที่ต้องการได้โดยการจัดหมวดหมู่ของข้อมูลจะจัดตามข้อมูลที่คล้ายกัน หรือเป็นประเภทเดียวกัน นำมารวบรวมไว้ในกลุ่มเดียวกัน
         ลักษณะการค้นหาข้อมูลแบบ Search Directories จะทำให้ผู้ใช้สะดวกในการเลือกข้อมูลที่ต้องการค้นหา และทำให้ได้ข้อมูลตรงกับความต้องการ
         การค้นหาวิธีนี้มีข้อดีคือ สามารถเลือกจากชื่อไดเร็กทอรีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการค้นหาและสามารถเลือกที่จะเข้าไปดูว่ามีเว็บไซต์ใดบ้างได้ทันที เช่นwww.sanook.com


Metasearch การค้นหาข้อมูลจากหลายแหล่งข้อมูล

         เป็นลักษณะของการค้นหาข้อมูลจากหลายๆ Search Engine ในเวลาเดียวกัน เพราะเว็บไซต์ที่เป็น Metasearch จะไม่มีฐานข้อมูลของตนเอง แต่จะค้นหาเว็บเพจที่ต้องการโดยวิธีการดึงจากฐานข้อมูลของ Search Site จากหลายๆ แห่งมาใช้ แล้วจะแสดงผลให้เลือกตามต้องการ เช่น www.thaifind.com

การค้นหาโดยใช้ Search Engine
    การใช้วิธีการค้นหาข้อมูลบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถแบ่งรูปแบบในการค้นหาออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 
          1. การระบุคำเพื่อใช้ในการค้นหา หรือที่เรียกว่า “คีย์เวิร์ด” 
          2. การค้นหาจากหมวดหมู่ หรือไดเรกทอรี (Directories) 

การระบุคำเพื่อใช้ในการค้นหา 
          วิธีการค้นหาข้อมูลในลักษณะนี้ก็คือ การระบุคำที่ต้องการค้นหา หรือที่เรียกว่า “คีย์เวิร์ด” (Keyword) โดยในเว็บไซต์ต่างๆ ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลจะมีช่องเพื่อให้กรอกคำที่ต้องการค้นหาลงไป แล้วจะนำคำดังกล่าวไปค้นหาจากข้อมูลที่ได้จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลของระบบ 

วิธีการค้นหาข้อมูลแบบระบุคำที่ต้องการค้นหา หรือคีย์เวิร์ด   
          โดยจะเลือกเว็บไซต์ที่ให้บริการในการค้นหาข้อมูลที่เรามักจะเรียกว่า “เว็บไซต์สำหรับ Search Engine” ซึ่งมีเว็บไซต์ต่างๆ หลายเว็บไซต์ที่ให้บริการด้านนี้ เช่น www.google.co.th การใช้คีย์เวิร์ดในการค้นหาข้อมูล เราจะต้องพยายามระบุคำให้ชัดเจนเพื่อจะสามารถให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ หรือให้ใกล้เคียงกับสิ่งที่เราต้องการมากที่สุด 

วิธีปฏิบัติในการค้นหาข้อมูลแบบคีย์เวิร์ด สามารถทำได้ดังต่อไปนี้ คือ 
          1. พิมพ์ชื่อเว็บไซต์ที่เป็น Search Engine ในช่อง Address เช่นwww.google.co.th
        2. กรอกคำที่ต้องการค้นหาในช่องที่เว็บไซต์ได้กำหนดไว้
          3. เว็บไซต์จะค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ ที่มีคำที่เหมือนกับคำที่เราได้กรอกไว้ในช่องที่ต้องการค้นหาข้อมูล 
        4. คลิกเลือกเว็บไซต์ที่ต้องการ เข้าไปค้นหารายละเอียดของข้อมูลต่อไป ดังตัวอย่าง เมื่อคลิกเลือกการศึกษา Education แล้วจะแสงเว็บไซต์ของหัวข้อเรื่องดังกล่าวออกมา
  

การค้นหาจากหมวดหมู่ หรือไดเร็กทอรี (Directories) 
       การให้บริการค้นหาข้อมูลด้วยวิธีนี้เปรียบเสมือนเราเปิดเข้าไปในห้องสมุด ซึ่งได้จัดหมวดหมู่ของหนังสือไว้แล้ว และเราก็ได้เดินไปยังหมวดหมู่ของหนังสือที่ต้องการ ซึ่งภายในหมวดใหญ่นั้นๆ ยังประกอบด้วยหมวดหมู่ย่อยๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนยิ่งขึ้น หรือแบ่งประเภทของข้อมูลให้ชัดเจน เราก็สามารถเข้าไปหยิบหนังสือเล่มที่ต้องการได้ แล้วก็เปิดเข้าไปอ่านเนื้อหาข้างในของหนังสือเล่มนั้นๆ วิธีนี้จะช่วยให้ค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น มีเว็บไซต์มากมายที่ให้บริการการค้นหาข้อมูลในรูปแบบนี้ เช่น 

              www.siamguru.com                                
                   www.hunsa.com
                   www.archive.otg                                       
                   www.search.msn.com                                      
                   www.sanook.com                                      
                   www.excite.com 

วิธีปฏิบัติในการค้นหาข้อมูลแบบไดเร็กทอรี สามารถทำได้ดังต่อไปนี้ คือ 
        1. พิมพ์ชื่อเว็บไซต์ที่เป็น Search Engine ในช่อง Address เช่นwww.sanook.com 
          2. เลือกหัวข้อเรื่องที่ต้องการค้นหาข้อมูล เช่น การศึกษา จะแบ่งเป็นหัวข้อย่อย ดังนี้ 
          โรงเรียน, สถาบันอุดมศึกษา, สถาบันกวดวิชาและสอนพิเศษ, และนะแนวการศึกษา 
          3. เมื่อคลิกที่หัวข้อเรื่องย่อยที่ต้องการ เช่น สถาบันอุดมศึกษา 
          4. จะปรากฏหัวข้อเรื่องย่อยของสถาบันอุดมศึกษา ดังนี้
          หมวดย่อย
          สถาบัน (5/5)  
          - มหาวิทยาลัยของรัฐ (5/5)                                                                   
          มหาวิทยาลัยเอกชน (3/2)  
          - มหาวิทยาลัยราชภัฏ (6/3)                       
     ทำให้สามารถเลือกข้อมูลได้ตรงกับความต้องการได้มากที่สุดโดยทำให้ไม่เสียเวลาในการเลือกข้อมูล เพราะได้จัดข้อมูลแบ่งเป็นกลุ่มข้อมูลย่อยๆ 
          5. นอกจากแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยของข้อมูลแล้วยังมีการเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้ได้เลือกค้นหาข้อมูลอีกมากมาย

เทคนิคในการค้นคว้าข้อมูล
          1. การใช้ภาษา การค้นหาข้อมูลแบบคีย์เวิร์ด สามารถค้นหาได้ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ซึ่งรูปแบบของภาษาไทยนั้นจะเป็นการเขียนประโยคที่ต่อเนื่อง เช่น ขนมไทย ศิลปะ  วัฒนธรรมไทย สมุนไพรไทย เป็นต้น แต่การค้นหาด้วยภาษาอังกฤษ จะแตกต่างจากภาษาไทย คือภาษาอังกฤษจะเป็นการแบ่งวรรคของคำ เช่น Thai food ซึ่งถ้าพิมพ์คำนี้แล้ว ผลลัพธ์ที่ได้คือ จะแสดงเว็บไซต์ที่มีคำว่า Thai หรือFood หรือ Thai food ออกมาให้ทั้งหมดทำให้ได้รับข้อมูลมากมายเกินความต้องการ แต่ถ้าต้องการให้คำว่า Thai food เป็นข้อความเดียวกัน ต้องพิมพ์คำดังกล่าวไว้ในเครื่องหมายคำพูด (“ ”) เช่น “Thai food”  ซึ่งแปลว่าอาหารไทย เมื่อให้เว็บไซต์ค้นหาข้อมูลให้ก็จะแสดงเฉพาะเว็บไซต์ที่มีคำว่า “Thai food”   เท่านั้น ซึ่งจะทำให้ข้อมูลที่ต้องการแคบลง ช่วยให้เราสามารถหาผลลัพธ์ที่ต้องการได้เร็วขึ้น 

          2. ควรบีบประเด็นให้แคบลง หรือใช้คำให้ชัดเจน ตรงประเด็นที่ต้องการผลลัพธ์ให้มากที่สุด เพราะข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีอยู่มากมาย ถ้าเราสามารถระบุคำที่ชัดเจนและตรงประเด็นแล้ว จะเป็นการกรองข้อมูลให้กับเราได้ ทำให้เราได้รับข้อมูลที่ตรงกับความต้องการชัดเจน และสามารถหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เช่น ถ้าต้องการค้นหาข้อมูลของอาหารไทยเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ควรที่จะกำหนดข้อความในการค้นหา คือ “Thai food in Thailand” จะเป็นการกรองข้อมูลให้เราได้ประเด็นที่แคบลง 

          3. การใช้คำที่มีความหมายเหมือนกันคำในภาษาอังกฤษมีหลายๆคำที่มีความหมายเหมือนกัน เช่น world และ earth แปลว่า โลก” ถ้าต้องการหาคำว่าworld แล้วผลลัพธ์ที่ได้ไม่สามารถหาข้อมูลของคำนี้ได้ เราควรลองเปลี่ยนเป็นคำอื่นที่มีความหมายเหมือนกัน 

          4. การใช้โอเปอเรเตอร์ หรือบูลีน เมื่อต้องการเจาะจงในการค้นหาข้อมูล ก็สามารถที่จะนำโอเปอเรเตอร์ หรือบูลีน มาเป็นเครื่องมือช่วยในการหาข้อมูลได้ เพื่อให้สามารถหาข้อมูลได้รวดเร็วและตรงกับความต้องการมากที่สุด โอเปอเรเตอร์ที่ใช้ คือ AND, OR, AND NOT และเครื่องหมาย +,- 
           AND “และ” เช่น computer and design ผลลัพธ์ที่ได้จะได้ข้อมูลที่ต้องมีทั้งคำว่า “computer” และ “design” อยู่ด้วยกันเท่านั้น จึงจะดึงข้อมูลนั้นมาแสดง 
          OR “หรือ” การใช้คำว่า OR ถ้ามีคำใดคำหนึ่งเพียงคำเดียวก็จะดึงข้อมูลนั้นมาแสดงให้ เช่น computer or design คือ จะมีแต่คำว่า “computer” หรือมีแต่คำว่า“design” หรือมีทั้งคำว่า “computer” และ “design” ก็จะดึงข้อมูลนั้นมาแสดง การใช้คำว่า OR ช่วยในการหาข้อมูลนั้นทำให้ข้อมูลที่ได้รับมีขอบเขตกว้างมาก 
           AND NOT หรือNOT เช่น computer and not design หมายความว่า “ให้ค้นหา ข้อมูลที่มีคำว่า computer แต่ต้องไม่มีคำว่า design มาด้วย” ฉะนั้นผลลัพธ์ที่ได้เมื่อใช้ข้อความนี้ในการค้นหาข้อมูลก็จะแสดงข้อมูลเฉพาะที่มีแต่คำว่าคอมพิวเตอร์เท่านั้น ถ้าข้อมูลใดมีคำว่า “design” อยู่ด้วยจะไม่ดึงเอาข้อมูลนั้นมาแสดง 
                    
          เครื่องหมาย + หมายความว่า คำใดที่ตามหลังเครื่องหมายนี้จะต้องมีคำนั้นอยู่ในเว็บเพจนั้น เหมือนกับคำว่า AND 
          เครื่องหมาย – หมายความว่า คำใดที่ตามหลังเครื่องหมายนี้จะต้องไม่มีคำนั้นอยู่ใน เว็บเพจนั้น เหมือนกับคำว่า NOT 
          เช่น  + computer – design ข้อมูลที่จะแสดงออกมาจะต้องมีคำว่า computerแต่ไม่มีคำว่า design 

รวมเว็บไซต์ที่ช่วยในการค้นหาข้อมูล 

        www.siamgrur.com                                        www.sanook.com 
          www.google.co.th                                           www.search.com 
          www.thaihostsearch.com                               www.catcha.co.th 
          www.hotbot.com                                             www.search.msn.com 
          www.yahoo.com                                              www.excite.com 
          www.thaifind.com                                           www.siam-search.com 
          www.sansarn.com                                           www.thai-index.com 
          www.madoo.com                                            www.allofthai.com